วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

2.ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism )

     http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321 นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดีไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ   ”พฤติกรรม”  มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด  สามารถวัดและทดสอบได้  ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้  ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน  คือ
      http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 -   ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical Connectionism)   ของธอร์นไดค์(Thorndike)มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด 
 -   ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical Connectionism)   ของธอร์นไดค์(Thorndike) 
 มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด
เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว  บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง  มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน  เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ  การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 
 -   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory)   ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี  ดังนี้
 1)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning)   เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
  2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning)  เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
  
3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning)  เน้นหลักการจูงใจ  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว  ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก 

4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning)  เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก  การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน  การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้

-   ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)  มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า  การเรียนรู้จะลดลง  การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม  ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด  การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน
       http://surinx.blogspot.com/ กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่เลว (neutral - passive) การกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus - response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดได้และทดสอบได้ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่นี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน  คือ
-ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Classical Connectionism)
-ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
-ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)



 

-   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory)   ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี  ดังนี้  1)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning)   เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน(Watson’s Classical Conditioning)  เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน  3)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning)  เน้นหลักการจูงใจ    4)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning)  เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล 
-   ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์(Hull’s Systematic Behavior Theory)  มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า  การเรียนรู้จะลดลง  การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย 

สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) ธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง  การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง


อ้างอิง

URL:http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554   
URL: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554   
URL: http://surinx.blogspot.com/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554

3. ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัย

3.1ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)  
 http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์  



http://sites.google.com/site/bookeclair/hk  กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เป็นกระบวนการทางสมองในการประมวลผลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ เกี่ยวกับการทำงานของสมอง โดยมีแนวคิดว่าการทำงานของสมองมีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คลอสเมียร์ (Klausmeier,1985:108) ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้ คือ
1.การรับข้อมูล (Input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2.การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (Software)
3.การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์
    
   http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น  จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย  หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ  ได้เป็นเวลานาน  สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding)  เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว  วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การท่องจำซ้ำๆ  การทบทวน  หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด

สรุป ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory) เป็นกระบวนการทางสมองในการประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง


อ้างอิง
URL: http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554

URL:http://edtechno.msu.ac.th/mod/resource/view.php?id=86 เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554
URL: http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 




3.5    ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning) 



      http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ 

      http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกั 

         (http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2821.0;wap2) Cooperative and Collaborative Learning หรือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เพราะมีลักษณะเป็นกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบร่วมมือ ข้อแตกต่างระหว่าง Cooperative Learning กับCollaborative Learning อยู่ที่ระดับความร่วมมือที่แตกต่างกัน Sunyoung, J. (2003) ได้สรุปว่า ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง Cooperative Learning กับ Collaborative Learning คือ เรื่องโครงสร้างของงานอัน ได้แก่ Pre – Structure , Task – Structure และ Content Structureโดย Cooperative Learning จะมีการกำหนดโครงสร้างล่วงหน้ามากกว่า มีความเกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างไว้เพื่อคำตอบที่มีขอบเขตจำกัด ชัดเจน และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ชัดเจนมากกว่า ส่วน Collaborative Learning มีการจัดโครงสร้างล่วงหน้าน้อยกว่า เกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างแบบหลวมๆ (ill – Structure Task) เพื่อให้ได้คำตอบที่ยืดหยุ่นหลากหลาย และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ไม่จำกัดตายตัว ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเรียนการสอนออนไลน์มักนิยมใช้คำว่า Collaborative LearningThirteen Organization (2004) ได้สรุปว่า Collaborative Learning เป็นวิธีการหนึ่งของการสอนและการเรียนรู้ในทีมของนักเรียนด้วยกัน เป็นการเปิดประเด็นคำถามหรือสร้างโครงการที่เต็มไปด้วยความหมาย ตัวอย่างเช่น การที่กลุ่มของนักเรียนได้มีการอภิปราย หรือการที่นักเรียนจากโรงเรียนอื่นๆทำงานร่วมกันผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อแบ่งปันงานที่ได้รับมอบหมาย ส่วนCooperative Learning เป็นการมุ่งเน้นโดยเบื้องต้นที่การทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นแบบเฉพาะเจาะจงในชนิดของการร่วมมือ ซึ่งนักเรียนจะทำงานร่วมกันในกลุ่มเล็กในโครงสร้างของกิจกรรม ทุกคนจะมีความรับผิดชอบในงานของพวกเขา โดยทุกคนสามารถเข้าใจถึงการทำงานเป็นกลุ่มเป็นอย่างดี และการทำงานกลุ่มแบบ Cooperative นั้นจะมีการทำงานแบบเผชิญหน้า (Face – to –face) และเรียนรู้เพื่อทำงานเป็นทีม

สรุป     การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning and Collaborative Learning) หรือนักวิชาการบางท่านได้แปล Collaborative Learning ว่าคือ การเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม ตามระบอบประชาธิปไตย และเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ทำให้สามารถปรับตัวอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข



อ้างอิง

URL:  http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554
URL: (http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2821.0;wap2)
เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554
URL: http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htmเข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554

นวัตกรรม

       http://benjamas22.212cafe.com/archive/2008-11-24/innovation-innovare-change-opportunity-20-joseph-schumpeter-the-theory-of-economic-development1934-t/ ได้ให้ความหมายของคำว่า   นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

         จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรม ไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)

         ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรม ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)



        สรุป นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อ้างอิง
URL: http://benjamas22.212cafe.com/archive/2008-11-24/innovation-innovare-change-opportunity-20-joseph-schumpeter-the-theory-of-economic-development1934-t/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554

URL: (http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=40.0)
เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554
URL: (http://www.oknation.net/blog/aukada/2008/10/05/entry-1)เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554

นวัตกรรมทางการศึกษา

            http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video)สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญ.htm)





http://pennapa007.blogspot.com/2008/02/4.html ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึงความคิดใหม่ รูปแบบใหม่ วิธีการใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้รับการประยุกต์ สร้างสรรค์ และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือการคิดค้นขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย



นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คองพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น


        สรุป  “นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้




อ้างอิง
URL: http://pennapa007.blogspot.com/2008/02/4.htmlเข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554


URL: http://senarak.tripod.com/inno2.html#นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational   Innovation  เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554


URL: http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138 เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ebay



eBay คืออะไร ?
        ก่อนอื่นเรามารู้จักอีเบย์กันก่อนดีกว่าว่าคืออะไร อีเบย์ (eBay Inc.) คือ บริษัทประมูลและซื้อขายสินค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้คนทั่วโลกซื้อขายสินค้าได้ อีเบย์ได้ก่อตั้งเป็นเว็บประมูลสินค้า ในปี พ.ศ. 2538 หรือ ค.ศ. 1995 ซึ่งมี นายปิแอร์ โอมินดียาร์ ที่อาศัยอยู่ในเมืองซานโฮเซ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ก่อตั้งขึ้นมา แต่ในช่วงแรกนั้น นายปิแอร์ ต้องการตั้งชื่อเว็บไซด์ว่า เอโคเบย์ดอทคอม (EchoBay.com) แต่ได้มีคนอาจหาญแซงหน้าจดทะเบียนเว็บไซต์ไว้ก่อนแล้ว เขาจึงเชิดใส่ และหาได้หาชื่ออื่นมาแทน หาไปหามาจนกลายมาเป็น อีเบย์ดอทคอม (eBay.com) ที่เราได้เห็นกันในปัจจุบันนี้
ในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2541 นายเม็ก วิตแมน ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นประธานบริษัทอีเบย์ และควบตำแหน่งซีอีโอด้วย เชื่อไหมว่าอีเบย์ ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่เติบโตเร็วมากที่สุดในโลก และในถิ่นฐานบ้านเกิดของพวกเรา ก็มีเว็บสนุกดอทคอม (www.sanook.com) ของไทยเราได้มีการร่วมมือกับทางอีเบย์เขาด้วย ใครที่เข้าไปอ่านข่าว ฟังเพลง ก็อาจจะพบเจอการประมูลขายของอยู่บ้าง
การขายของในอีเบย์นั้น เขาใช้ลักษณะแบบการประมูลสินค้าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสินค้าที่วางขายกันนั้นมีตั้งแต่วัตถุโบราณ อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆของตกแต่งบ้าน เสื้อผ้าอาภรณ์ ซีดี ดีวีดี มากมายสารพัดสารเพ สากกะเบือยันเรือรบ ซึ่งเขามีขายกันทุกวัน ซึ่งสินค้าบางประเภทก็เป็นสินค้าหายากมาก โดยเฉพาะพวกของสะสม เช่น ซีดีเพลง ดวงตราไปรษณียากร ฯลฯ แต่ขายตัวไม่ได้นะครับ
ปัจจุบันนี้อีเบย์มีการซื้อขายกันเกิดขึ้นมากมาย เพราะมีผู้ซื้อมากและผู้ขายก็มากที่มารวมตัวกัน ทำให้อีเบย์เป็นเหมือนการนำตลาดนัดทั่วโลกมารวมอยู่ในที่เดียวกัน ส่วนการชำระเงินในอีเบย์สามารถทำได้หลายแบบขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย แต่ทางอีเบย์เขาก็มีบริการระบบ “เพย์พาล” (Paypal) คอยอำนวยความสะดวกให้ทั้งสองฝ่าย โดยจะมีการหักเงินส่วนหนึ่งเป็นค่าธรรมเนียมเข้ากับทางเพย์พาลด้วย
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า “อีเบย์” (eBay) แล้ว เพราะอาจจะเคยเป็นผู้ชาย หรือมีเพื่อนๆญาติพี่น้องที่ทำกิจการค้าขายอยู่ในเว็บไซต์อีเบย์ บางคนเคยลองขายเล่นๆสนุกๆ เพราะอยากรู้ว่าการขายของบนอินเตอร์เน็ต และเป็นการขายแบบ “ประมูล” จะเป็นอย่างไร? สนุกเร้าใจแค่ไหน? หรือบางคนก็เคยเป็นผู้ซื้อสินค้าหลายๆ อย่างที่ถูกประกาศขายอยู่บนอีเบย์ด้วยใช่ไหม?
แต่...ช้าก่อน!!! ไม่ใช่ว่าคุณจะลงประกาศขายสินค้าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ได้ในอีเบย์ เพราะทางอีเบย์เองเขาก็มีข้อจำกัด และข้อห้ามบางอย่าง สำหรับสินค้าบางประเภทที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย, สินค้าปลอม, สินค้าเถื่อน, สินค้าที่ถูกขโมยมา, สินค้าที่ก่อให้เกิดความไม่มั่งคง หรือ ปลอดภัย สินค้าที่ห้ามขายของในอีเบย์ ได้แก่ บุหรี่และยาสูบต่างๆ, เครื่องดื่มที่เป็นผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ และของมึนเมาทุกชนิด, อาวุธยุทโธปกรณ์ และกระสุน อวัยวะมนุษย์, สินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์ อาทิ กระเป๋าแบรนด์เนมของปลอม, เสื้อทีมฟุตบอลของปลอม, นาฬิกาของปลอม, สินค้าของฝ่ายนาซี, ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการศึกษา หรือสำหรับทดลอง (Trial Version), สินค้าเกี่ยวกับสัตว์ป่า, วัตถุโบราณซึ่งกฎหมายของสหรัฐอเมริการะบุไว้, อุปกรณ์และเครื่องมือทางด้านการแพทย์ ฯลฯ

ที่มา : http://thaisame.wordpress.com