วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สื่อการสอน

                images.s4920117113s.multiply.multiplycontent.com/สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
ประเภทของสื่อการสอน
โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทการสอน ดังนี้
1. วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
2. วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
3. โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น

          


(http://sayan201.blogspot.com/) สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
         




images.destruction127.multiply.multiplycontent.comสื่อการสอนหมายถึง วัสดุอุปกรณ์ วิธีการต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อกลางระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ในการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของสื่อนั้น เราสามารถจำแนกได้ 3 รูปแบบคือ
แนวคิดของ Edgar Dale แบ่งประสบการณ์ได้เป็น 11 ประเภท ได้แก่
ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย
ประสบการณ์จำลอง
ประสบการณ์นาฏการ
การสาธิต
การศึกษานอกสถานที่
นิทรรศการ
โทรทัศน์การศึกษา
ภาพยนตร์
ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง วิทยุ
ทัศนสัญลักษณ์
วัจนสัญลักษณ์

การแบ่งประเภทของสื่อตามรูปร่างลักษณะของสื่อ Wilbure Young ได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ดังนี้
ทัศนวัสดุ ได้แก่ กระดานชอล์ก แผนภูมิ รูปภาพ สไลด์ ฟิล์ม ฟิล์มสตริป
โสตวัสดุ ได้แก่ เทปบันทึกเสียง วิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา
โสตทัศนวัสดุ ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์
เครื่องมือต่างๆ ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องเสียง
กิจกรรม ได้แก่ นิทรรศการ การสาธิต นาฏการ การศึกษานอกสถานที่Gerlach and Ely ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
ภาพนิ่ง ได้แก่ รูปภาพต่างๆ ทั้งที่เป็นภาพถ่าย ภาพพิมพ์ และภาพที่มีอยู่ในหนังสือ สไลด์ ฟิล์ม และภาพโปร่งใส
การบันทึกเสียง ได้แก่ สื่อที่บันทึกเสียงไว้ เช่น แผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ และเทปโทรทัศน์ เป็นต้น สื่อประเภทนี้จัดเป็นวัจนวัสดุ
ภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ ฟิล์มภาพยนตร์ และ เทปโทรทัศน์
โทรทัศน์ของจริง สถานการณ์จำลอง และหุ่นจำลอง
การสอนแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


เปรื่อง กุมุท ได้แบ่งสื่อการเรียนการสอนไว้ 5 ประเภท ดังนี้
บุคลากร ได้แก่ ครู วิทยากร
วัสดุ ได้แก่ กระดาษ สี ของจริง สิ่งจำลอง หนังสือ ฟิล์ม
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องมือปฏิบัติงาน
สถานที่ ได้แก่ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การแสดงบทบาทสมมติ


โดยทั่วไป วงการเทคโนโลยีการศึกษา แบ่ง สื่อการศึกษาออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการส่งสาร หรือส่งสื่อ ซึ่งเครื่องมือ หรืออุปกรณ์นี้ จำเป็นต้องมี ส่วนประกอบที่เรียกว่า soft ware เพื่อนำข้อมูลในวัสดุ ส่งไปยังผู้รับวัสดุ (soft ware) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา ทำหน้าที่คือ การเก็บสารไว้ในตัว เพื่อใช้ประกอบกับเครื่องมือ หรืออุปกรณ์เพื่อใช้ในการส่งสาร หรือบางครั้ง ก็สามารถส่งสารด้วยตัวของมันเองเทคนิค หรือวิธีการ เป็นการกระทำที่อยู่ในรูปแบบของการปฏิบัติ อาจจะใช้วัสดุเครื่องมือ หรือไม่ใช้ก็ได้ เทคนิคที่จัดว่าเป็นสื่อการสอนเช่น การแสดงนาฏการ การสาธิต การบรรยาย เป็นต้น
ศิริพงศ์ พะยอมแย้ม ได้ให้ทัศนะด้านประเภทของสื่อไว้ว่า สื่อสามารถแบ่งตามมิติออกเป็น 3 แบบได้แก่
สื่อสามมิติ
สื่อ 3 มิติชนิดเคลื่อนไหว เช่น บุคคล การสาธิต นาฏการ
สื่อ 3 มิติชนิดนิ่ง เช่น ของจริง ของจำลอง
สื่อ 2 มิติ
สื่อ 2 มิติชนิดเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์
สื่อ 2 มติชนิดนิ่ง เช่น รูปภาพ สไลด์ แผนที่ กระดานชอล์ก
สื่อไร้มิติ ได้แก่ ภาษาพูด เสียงเพลง
การแบ่งประเภทของสื่อการสอน ตามการนำไปใช้
          Carlton W.H. Erickson and David H. Curl ได้แบ่งสื่อการเรียนการสอนในแง่ของการนำไปใช้เป็น 2 ประเภท ดังนีh
สื่อทัศนะที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ หนังสือพิมพ์ รูปภาพ ของจริง การศึกษานอกสถานที่ หุ่นจำลอง สถานการณ์จำลอง เกม วัสดุกราฟิก ป้ายนิเทศ และนิทรรศการ กระดานดำ แผ่นป้ายสำลี กระเป๋าผนัง แผ่นป้ายไฟฟ้าสื่อที่ต้องฉาย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ เทปโทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป ไมโครฟิล์ม การบันทึกเสียง
Gerlach and Ely ได้แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะทางกายภาพได้ 6 ประเภท ดังนี้
ภาพนิ่ง อาจะเป็นภาพประกอบในหนังสือ ภาพประกอบป้ายนิเทศ สไลด์ หรือฟิล์มสตริป เป็นต้น
วัสดุอุปกรณ์ประเภทเสียง ได้แก่การบันทึกเสียง แผ่นเสียง หรือ ระบบเสียงในฟิล์มภาพยนตร์
ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์
โทรทัศน์
ของจริง สถานการณ์จำลอง หุ่นจำลอง
บทเรียนโปรแกรมและคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

กล่าวโดยรวมๆคือ การแบ่งประเภทของสื่อการสอนนั้น ไม่ว่าจะแบ่งโดยใช้เกณฑ์ใด ก็ยังคงอ้างอิงอยู่กับลักษณะของการรับรู้ และการเรียนรู้ เป็นหลัก ไม่ว่าจะแบ่งโดยใช้มิติ หรือ ลักษณะการนำไปใช้ หรือแม้แต่รูปร่างของสื่อ สิ่งที่สำคัญของสื่อการสอนนั้น ไม่ใช่ประเภทของสื่อ แต่เป็นการออกแบบเพื่อการส่งสาร โดยต้องอาศัยการเลือกใช้ว่าจะออกแบบ และเลือกใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือใด ให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ และสภาพแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น เราคงไม่สามารถใช้สื่อประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในสถานที่ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าได้ ดังนั้น การเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และวัตถุประสงค์ของการสอน จึงมีความสำคัญสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา 
แบ่งตามระดับประสบการณ์ของผู้เรียน
แบ่งตามรูปร่างลักษณะของสื่อ
แบ่งตามลักษณะของการนำไปใช้
การแบ่งประเภทของสื่อตามประสบการณ์ของผู้เรียน มีแนวคิดที่ว่า การเรียนรู้ของ
มนุษย์ย่อมเกิดจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆโดยผ่านสื่อกลาง ระดับของประสบการณ์ที่ได้รับย่อมมีปริมาณมาก-น้อยแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับว่ามีความเป็นรูปธรรม หรือนามธรรมมากน้อยเพียงไร
   ดังนั้น สื่อการสอนจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเรียนการสอน ซึ่งแต่เดิมสื่อการสอนถูกเรียกว่า โสตทัศนูปกรณ์
          สื่อการสอนเป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการถ่ายทอดสาร จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ซึ่งกระบวนการสื่อความหมายนั้น เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้น การถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการสื่อความหมายด้วยเช่นกัน
ประเภทของสื่อการสอน สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ 
1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ                                                                                                                               3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์
1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง
2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตรายไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า
3. ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น
4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด
5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง
6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง
7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์
8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียงซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
9. ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิแผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น
10.วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตามเราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติ
Wilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้
1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ
2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ
3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริปเครื่องฉายสไลด์
5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯ
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ(Form)Louis Shores ได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้
1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ
วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ
3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง
สื่อการเรียนการสอนตามลักษณะและการใช้
1. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware)                                                                                                                                       2. วัสดุ (Software)
3. เทคนิคหรือวิธีการ (Techinques or Methods)

สรุป  การสอน สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ ของผู้สอน และยังเป็นตัวดึงดูด กระตุ้นหรือสร้างความประทับใจ ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในชั่วโมงเรียนมากยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ



 อ้างอิง

URL:images.s4920117113s.multiply.multiplycontent.comเข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554

URL:(http://sayan201.blogspot.com/)เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554


URL:images.destruction127.multiply.multiplycontent.com/.../งานส่ง.doc?key.เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554

แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดนวัตกรรม

ยกตัวอย่าง  เช่น    เครื่องสอน(Teaching Machine)
 เป็นเครื่องมือที่ใช้กับบทเรียนโปรแกรม โดยอาศัยกลไกตั้งแต่แบบง่าย ๆ
 ราคาถูกไปจนถึงเครื่องกลไกชั้นสูง คอมพิวเตอร์ราคาแพง
ในการเสนอบทเรียนให้แก่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละคน
ลักษณะของเครื่องสอน
โปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบต่อก้านอาจอยู่ในแผ่นกระดาษม้วนหรือแผ่นอาซีเตทก็ได้ตัวเครื่องอาจเป็นซองกระดาษกล่องไม้หรือกล่องเหล็กมีช่องหน้าต่างสำหรับผู้เรียนกรอกคำตอบหรือมีปุ่มให้เลือกตอบแล้วแต่ชนิดของเครื่องสอน

ประเภทของเครื่องสอน

1.เครื่องสอนจำพวกที่ผู้เรียนสร้างคำตอบเอง
2.เครื่องสอนจำพวกใช้ฝึก
3.เครื่องสอนจำพวกสร้างคำตอบด้วยกลไก
4.เครื่องสอนจำพวกเลือกคำตอบแบบเชิงเส้น
5.เครื่องสอนสำหรับบทเรียนโปรแกรมแบบสาขา
6.เครื่องสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก
ข้อดีของเครื่องสอน

-ป้องกันการทุจริตของผู้เรียน
-ใช้สอนผู้อ่านหนังสือไม่ออกได้
-บันทึกข้อที่ผู้เรียนผิดพลาดได้สะดวกแก่การนำมาปรับปรุงแก้ไข
-ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
-ทำหน้าที่ในการสอนรายบุคคลได้ดีกว่าครู
-ไม่ดุหรือทำโทษนักเรียน
-ตัวบทเรียนราคาถูกกว่าหนังสือ
-ใช้ร่วมกับสื่ออื่นๆได้
-ใช้ได้หลายครั้งสิ้นเปลืองน้อยกว่าบทเรียนโปรแกรมในลักษณะของตำราเครื่องสอน
  (TeachingMachine)
-เป็นเครื่องมือที่ใช้กับบทเรียนโปรแกรมโดยอาศัยกลไกตั้งแต่แบบง่ายๆ  
ราคาถูกไปจนถึงเครื่องกลไกชั้นสูงคอมพิวเตอร์ราคาแพงในการเสนอบทเรียนให้แก่ผู้เรียนสามารถเรียบนได้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละคน
เป็นการนำเครื่องมือนี้มาช่วยในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ตามที่ครูผู้สอนได้ตั้งไว้ และยังเกิดเป็นการเรียนรู้ใหม่ๆที่เป็นนำเทคโนโลยีมาเรียนรู้เพื่อให้เกิดนวัตกรรมอีกด้วย
ดูรายละเอียดได้ที่..
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing.






รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

                http://sirinapa005.blogspot.com/2010/08/blog-post.html กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวได้หลายรูปแบบมากกว่าเดิม

(http://pongpipath.multiply.com/journal/item/20) ได้รวบรวมความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติที่นักวิชาการหลายท่านได้ให้ไว้ดังนี้

น้ำทิพย์ วิภาวิน (2542:53) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา (2542:53) กล่าว ว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและ อุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
กิดานันท์ มลิทอง (2540:269) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะ ไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวได้หลายรูปแบบมากกว่าเดิม
สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
การนำเสนอเนื้อหาแบบข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติเป็นการนำเสนอเนื้อหาใน ลักษณะของกรอบความคิดแบบใยแมงมุม ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่เชื่อว่าจะมีลักษณะ ที่คล้ายคลึงกับวิธีที่มนุษย์จัดระบบความคิดภายในจิต ดังนั้น ข้อความหลาย มิติและสื่อหลายมิติจึงทำให้สามารถคัดลอกและจำลองเครือข่ายโยงใยความจำของ มนุษย์ได้ การใช้ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนจึงช่วยให้ ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น




images.minint.multiply.multiplycontent.com/จากความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติที่ได้ทราบไปแล้วนั้นว่าจะเสนอข้อมูลในลักษณะตัวอักษร ภาพกราฟิกอย่างง่ายๆ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาข้อความหลายมิติให้สามารถบรรจุข้อมูลได้หลากหลายประเภทขึ้นจึงได้ชื่อว่าเป็น ไฮเปอร์มีเดีย” (Hypermedia)  หรือตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานว่า สื่อหลายมิติ
สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกรกฟิกที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม (กิดานันท์  มลิทอง.  2540: 269)
สื่อหลายมิติ (Hypermedia)  เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่างๆ ได้ทั้ง ข้อความ  เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว (น้ำทิพย์  วิภาวิน, 2542 : 53)  Hypermedia  เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext  อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน (วิเศษศักดิ์  โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 53)
  

            สรุป   ความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ทำให้มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้นและวิชาเรียนต่าง ๆ แล้วในปัจจุบัน


อ้างอิง



URL: (http://pongpipath.multiply.com/journal/item/20)เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 
URL: images.minint.multiply.multiplycontent.comเข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 
 URL: http://sirinapa005.blogspot.com/2010/08/blog-post.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 

เทคโนโลยี

          http://www.tpa.or.th/tpawbs/viewtopic.phpid=622&linkMe=342056cEvfGoMe004  ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติจากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง 



http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htmเมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยี คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัย มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้นรวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม เทคโนโลยีเป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) :การสร้าง (to construct) ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)
                เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือ
ดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผล พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอา
วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)
1.       เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( processเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2.       เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3.       เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta 1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี (Technology) ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป หรืองานช่างฝีมือ (art of craft) และ logia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึงหมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ
พจนานุกรมเว็บสเทอร์ (Websters 1994) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้ 1) การใช้ทางวิทยาศาสร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพานิชกรรม ของค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 2) องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ
 บราวน์ (Brown) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
กัลเบรท (Galbraith 1967) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้คือ เทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ ส่วนนักการศึกษาของไทยได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีดังนี้
 ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539) ได้ให้รายละเอียดของคำว่าเทคโนโลยีหมายถึง
1.       องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
2.       การประยุกต์วิทยาศาสตร์
3.       วัสดุ เครื่องยนต์กลไก เครื่องมือ
4.       กรรมวิธี และวิธีดำเนินงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์
5.       ศิลปะ และทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
 สุพิทย์ กาญจนพันธุ์ (2541) หมายถึงวิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในความหมายนี้ เทคโนโลยีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล และจากความหมายดังกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า
เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย(ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84) คื
1.       ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2.       ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
 3.       ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป          

         (http://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3) เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์เครื่องมือ,เครื่องจักรวัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ   
                   สรุป เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาและอำนวญความสะดวก ต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้



อ้างอิง

 URL: (http://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3) เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554
URL:http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554

URL:http://www.tpa.or.th/tpawbs/viewtopic.phpid=622&linkMe=342056cEvfGoMe004 เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554
3.4  ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)   



แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น   
          (http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า เป็นทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ คือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพพอร์ท แห่งสถาบันเทคโนโลยีเมสซาซูเซตส์ แนวคิดนี้คือ การเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างพลังการเรียนรู้ในตนเองของผู้เรียน การนำความคิดไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม

     (http://www.budmgt.com/budman/bm01/conslego.html) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า บนพื้นฐานของทฤษฎีConstructionism เมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์งานที่มีความหมายกับตนเอง ยกตัวอย่างเช่น หากเด็กมีความสนใจในเรื่อง การออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เช่น หุ่นยนต์ สวนสนุก ฯลฯ และเด็กได้มีโอกาสในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์เหล่านั้น จะส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้และความก้าวหน้าทางสติปัญญาได้เป็นอย่างดีทฤษฎี constructionism นี้จึงเกี่ยวข้องกับการสร้าง 2 ประการ กล่าวคือ 
     1) เมื่อเด็กสร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่างออกมา เท่ากับว่าเด็กได้สร้างความรู้ขึ้นมาภายในตนเองด้วย
     2) ความรู้ที่เด็กได้สร้างขึ้นภายในตนเองนี้จะช่วยให้เด็กนำไปสร้างความรู้ใหม่ หรือสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์อื่นๆ ที่ความสลับซับซ้อนกันมากขึ้น ทำให้เกิดความรู้เพิ่มพูนขึ้นตามไปด้วย
 

                สรุป ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism) การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง แล้วนำความคิดที่สร้างสรรค์ของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเกิดเป็นผลงานชิ้นใหม่ที่ทั้งใหม่และแตกต่างจากเดิม

อ้างอิง
 URL:(http://www.budmgt.com/budman/bm01/conslego.html)เข้าถึงเมื่อวันที่ 31กรกฎาคม 2554 
 URL:http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486เข้าถึงเมื่อวันที่ 31กรกฎาคม 2554
URL:(http://dontong52.blogspot.com/)เข้าถึงเมื่อวันที่ 31กรกฎาคม 2554 
3.3   ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)  


     http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  

           http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction)  เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว   ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย  ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ  และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง  โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง  ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น  ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้  บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ  อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้  การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล  การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย  การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย  ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา  ก็สามารถทำได้  แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย

            http://sites.google.com/site/bookeclair/hk  กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  มีหลักการที่สำคัญว่า ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (active) และสร้างความรู้  ความเชื่อพื้นฐานของ Constructivism มีรากฐานมาจาก 2 แหล่ง คือจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ และ  วิก็อทสกี้ ทฤษฎี Constructivism จึงแบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎี คือ 
1. Cognitive Constructivism หมายถึงทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม ที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ ทฤษฎีนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้กระทำ(active) และเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลทางพุทธิปัญญาขึ้น เป็นเหตุให้ผู้เรียนปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่ จนกระทั่งเกิดความสมดุลทางพุทธิปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
 2.  Social Constructivism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของวิก็อทสกี้ ซึ่งถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น  (ผู้ใหญ่หรือเพื่อน) ในขณะที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน ในสภาวะสังคม(Social Context) ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญและขาดไม่ได้ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทำให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการเปลี่ยนแปรความเข้าใจเดิมให้ถูกต้องหรือซับซ้อนกว้างขวางขึ้น

สรุป
     การเรียนรู้เป็นกระบวนการสร้างมากกว่ารับความรู้ และการสอนให้เด็กเรียนรู้เอง คิดเอง เด็กและครูจะเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้ง
ฝ่าย โดยที่ต่างฝ่ายต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน


อ้างอิง
 URL:
http://sites.google.com/site/bookeclair/hkเข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม 2554
URL:http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htmlเข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม 2554
URL:http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม 2554