วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดนวัตกรรม

ยกตัวอย่าง  เช่น    เครื่องสอน(Teaching Machine)
 เป็นเครื่องมือที่ใช้กับบทเรียนโปรแกรม โดยอาศัยกลไกตั้งแต่แบบง่าย ๆ
 ราคาถูกไปจนถึงเครื่องกลไกชั้นสูง คอมพิวเตอร์ราคาแพง
ในการเสนอบทเรียนให้แก่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละคน
ลักษณะของเครื่องสอน
โปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบต่อก้านอาจอยู่ในแผ่นกระดาษม้วนหรือแผ่นอาซีเตทก็ได้ตัวเครื่องอาจเป็นซองกระดาษกล่องไม้หรือกล่องเหล็กมีช่องหน้าต่างสำหรับผู้เรียนกรอกคำตอบหรือมีปุ่มให้เลือกตอบแล้วแต่ชนิดของเครื่องสอน

ประเภทของเครื่องสอน

1.เครื่องสอนจำพวกที่ผู้เรียนสร้างคำตอบเอง
2.เครื่องสอนจำพวกใช้ฝึก
3.เครื่องสอนจำพวกสร้างคำตอบด้วยกลไก
4.เครื่องสอนจำพวกเลือกคำตอบแบบเชิงเส้น
5.เครื่องสอนสำหรับบทเรียนโปรแกรมแบบสาขา
6.เครื่องสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก
ข้อดีของเครื่องสอน

-ป้องกันการทุจริตของผู้เรียน
-ใช้สอนผู้อ่านหนังสือไม่ออกได้
-บันทึกข้อที่ผู้เรียนผิดพลาดได้สะดวกแก่การนำมาปรับปรุงแก้ไข
-ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
-ทำหน้าที่ในการสอนรายบุคคลได้ดีกว่าครู
-ไม่ดุหรือทำโทษนักเรียน
-ตัวบทเรียนราคาถูกกว่าหนังสือ
-ใช้ร่วมกับสื่ออื่นๆได้
-ใช้ได้หลายครั้งสิ้นเปลืองน้อยกว่าบทเรียนโปรแกรมในลักษณะของตำราเครื่องสอน
  (TeachingMachine)
-เป็นเครื่องมือที่ใช้กับบทเรียนโปรแกรมโดยอาศัยกลไกตั้งแต่แบบง่ายๆ  
ราคาถูกไปจนถึงเครื่องกลไกชั้นสูงคอมพิวเตอร์ราคาแพงในการเสนอบทเรียนให้แก่ผู้เรียนสามารถเรียบนได้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละคน
เป็นการนำเครื่องมือนี้มาช่วยในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ตามที่ครูผู้สอนได้ตั้งไว้ และยังเกิดเป็นการเรียนรู้ใหม่ๆที่เป็นนำเทคโนโลยีมาเรียนรู้เพื่อให้เกิดนวัตกรรมอีกด้วย
ดูรายละเอียดได้ที่..
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing.






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น