วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

3.2   ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences)
http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย 
-   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence) 
-   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
-   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน 
2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
               http://portal.edu.chula.ac.th/kanapat.a/blog/view.phpBid=1277087712682715&msite=kanapat.a  กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า มีแนวคิดที่ว่า " สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหน แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป


     (http://www.gotoknow.org/blog/prachyanun/66567) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า ทฤษฎีพหุปัญญาของศาสตราจารย์ โฮเวริ์ด  การ์ดเนอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  กล่าวถึง
     ความฉลาดของมนุษย์ไม่ว่าจะในเด็กหรือผู้ใหญ่  จะมีอยู่ด้วยกัน 9 ประการคือ
1. ความฉลาดในการใช้ภาษา



2. ความฉลาดในด้านตรรกะและคณิตศาสตร์


3. ความฉลาดในด้านจินตนาการ


4. ความฉลาดในด้านควบคุมร่างกาย


5. ความฉลาดในด้านดนตรี


6. ความฉลาดในด้านความมีมนุษย์สัมพันธ์



7. ความฉลาดในด้านการเข้าใจตนเอง

8. ความฉลาดในการเข้าใจธรรมชาติ



ทฤษฎีของโฮวาร์ด การ์ดเนอร์  ได้รับมีการเพิ่มเติมขึ้นเป็น 9 ประการคือ


9. ความฉลาดในการใช้ชีวิต




สรุป
     ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง และนักการศึกษาจะตระหนักถึงการทำการทดสอบทางสติปัญญาที่เคยปฏิบัติกันสมัยก่อนว่าไม่มีความเหมาะสมเพียงพอที่จะวัดสติปัญญาเพียงด้านเดียว ซึ่งเรารู้เองว่ามีการแสดงออกทางสติปัญญาได้หลากหลายวิธีและรู้ว่าสติปัญญาสามารถได้รับการฝึกฝนและพัฒนาสืบต่อไป



อ้างอิง
URL: (http://www.gotoknow.org/blog/prachyanun/66567)เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554


URL:http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554

URL:http://portal.edu.chula.ac.th/kanapat.a/blog/view.phpBid=1277087712682715&msite=kanapat.aเข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น