แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
(http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า เป็นทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ คือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพพอร์ท แห่งสถาบันเทคโนโลยีเมสซาซูเซตส์ แนวคิดนี้คือ การเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างพลังการเรียนรู้ในตนเองของผู้เรียน การนำความคิดไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
(http://www.budmgt.com/budman/bm01/conslego.html) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า บนพื้นฐานของทฤษฎีConstructionism เมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์งานที่มีความหมายกับตนเอง ยกตัวอย่างเช่น หากเด็กมีความสนใจในเรื่อง การออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เช่น หุ่นยนต์ สวนสนุก ฯลฯ และเด็กได้มีโอกาสในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์เหล่านั้น จะส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้และความก้าวหน้าทางสติปัญญาได้เป็นอย่างดีทฤษฎี constructionism นี้จึงเกี่ยวข้องกับการสร้าง 2 ประการ กล่าวคือ
1) เมื่อเด็กสร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่างออกมา เท่ากับว่าเด็กได้สร้างความรู้ขึ้นมาภายในตนเองด้วย
2) ความรู้ที่เด็กได้สร้างขึ้นภายในตนเองนี้จะช่วยให้เด็กนำไปสร้างความรู้ใหม่ หรือสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์อื่นๆ ที่ความสลับซับซ้อนกันมากขึ้น ทำให้เกิดความรู้เพิ่มพูนขึ้นตามไปด้วย
1) เมื่อเด็กสร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่างออกมา เท่ากับว่าเด็กได้สร้างความรู้ขึ้นมาภายในตนเองด้วย
2) ความรู้ที่เด็กได้สร้างขึ้นภายในตนเองนี้จะช่วยให้เด็กนำไปสร้างความรู้ใหม่ หรือสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์อื่นๆ ที่ความสลับซับซ้อนกันมากขึ้น ทำให้เกิดความรู้เพิ่มพูนขึ้นตามไปด้วย
สรุป ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism) การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง แล้วนำความคิดที่สร้างสรรค์ของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเกิดเป็นผลงานชิ้นใหม่ที่ทั้งใหม่และแตกต่างจากเดิม
อ้างอิง
URL:(http://www.budmgt.com/budman/bm01/conslego.html)เข้าถึงเมื่อวันที่ 31กรกฎาคม 2554 URL:http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486เข้าถึงเมื่อวันที่ 31กรกฎาคม 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น