http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ(Gaining attention)
ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)
ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)
http://surinx.blogspot.com/ กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า กานเย (Gagne) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธนิยม (Behavior Cognitivist) เขาอาศัยทฤษฎีและหลักการที่หลากหลาย เนื่องจากความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้งบางประเภทมีความวับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง กานเย่ได้จัดขั้นการเรียนรู้ซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธนิยมเข้าด้วยกัน
(http://sites.google.com/site/pattyka034/naewkhid/naewkhid-keiyw-kab-kar-sxn) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า กาเย่ได้นำเอาแนวความคิดมาใช้ในการเรียนการสอนโดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอน 9 ประการ ได้แก่
1)เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
1)เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
2)บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
3)ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)
3)ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)
4)นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
5)ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
6)กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
6)กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
7)ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
8)ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
9)สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
9)สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism) เป็นการผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธนิยมโดยอาศัยทฤษฎีและหลักการที่หลากหลาย ซึ่งมีการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก
อ้างอิง
URL: http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554
URL: http://sites.google.com/site/pattyka034/naewkhid/naewkhid-keiyw-kab-kar-sxn)เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554
URL: http://surinx.blogspot.com/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น